PDPA คือ มีความสำคัญยังไงสำหรับ Digital Marketing ในธุรกิจ

By Admin AI | 26 Apr 2024 | 4,941

PDPA คืออะไร?

PDPA หรือ Personal Data Protection Act คือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ถูกเก็บระหว่างใช้งานบนโลกออนไลน์ หรือการนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม เช่น การซื้อฐานข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ ข้อมูลทั้งชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ข้อมูลการจ่ายเงิน บนเว็บไซต์ซื้อขายของออนไลน์ ซึ่งการมีกฏหมายนี้ทำให้นักการตลาด ควรต้องรู้กฏหมายเกี่ยวกับ PDPA บ้างเพราะการทำ Digital Marketing ในอนาคตคงไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะต่อไปข้อมูลที่คุณจะนำมาทำกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ ให้กับ ธุรกิจ ข้อมูลที่เก็บจากเจ้าของข้อมูลเท่านั้นและต้องไม่ผิดกฎหมาย PDPA ดังนั้น PDPA มีความสำคัญในด้าน Digital Marketing มากเพราะไม่ใช่ใครก็ได้ที่จะเก็บข้อมูลของผู้ใช้เว็บไซต์มาทำการตลาดได้อย่างอิสระก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงกฎหมาย PDPA ได้

ดังนั้นผู้ประกอบธุรกิจทุกท่านจำเป็นต้องเตรียมเอกสารรวมไปถึงแบบฟอร์มต่างๆให้พร้อมสำหรับการบังคับใช้กฎหมาย PDPA ดังนี้

pdpa ต้องเตรียมอะไรบ้าง

1. เตรียมเอกสารเพื่อบันทึกกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
2. เตรียมแบบฟอร์มเพื่อให้เจ้าของข้อมูลขอใช้สิทธิบนเว็บไซต์
3. แบนเนอร์ขอความยินยอมการใช้คุกกี้ หรือ Cookie Consent Banner
4. ให้ความรู้อบรมกับบุคลากรภายในองค์กร
5. การแจ้งเตือนเจ้าของข้อมูลหากข้อมูลเกิดการรั่วไหล
6. ระบุขั้นตอนในการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นมาตรฐาน

สำหรับเจ้าของธุรกิจที่มีเว็บไซต์ควรรีบดำเนินการปฏิบัติตามข้อกฏหมายของ PDPA แต่ผู้ประกอบการบางท่านก็สงสัยเเล้วว่าPDPA มีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ ซึ่งเจ้าตัวกฏหมายตัวนี้ก็มีผลบังคับใช้ตั้งเเต่ ในวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมาแล้วเพราะฉะนั้นผู้ประกอบการท่านใดที่ยังไม่ปรับใช้กฏหมายตัวนี้ก็ต้องเตรียมตัวร้อนๆหนาวๆได้เลยเพราะ บทลงโทษ pdpa นั้น มี 3 ประเภท คือ 1. โทษทางแพ่ง 2. โทษทางอาญา และ 3. โทษทางปกครอง เรียกได้ว่าโทษหนักๆทั้งนั้นเลย

เตรียมทำ Digital Marketing สำหรับธุรกิจให้สอดคล้องกับกฏหมายใหม่

PDPA คือกฎหมายตัวใหม่ที่จะเข้ามาพลิกโฉมวงการ Digital Marketing ในทุกธุรกิจ แต่ไม่ใช่เพียงงาน Digital Marketing แต่สำหรับในองค์กร สำหรับผู้ประกอบการที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้า พนักงาน ลูกจ้างภายในองค์กรไว้ถ้านำข้อมูลไปใช้หรือเอาไปเปิดเผยโดยไม่ตรงตามข้อกฎหมายอาจมีความเสี่ยงที่จะทำผิดกฎหมาย และมีบทลงโทษทั้งทางแพ่ง อาญาและโทษทางปกครองอีกด้วย สำหรับ HR ต้องคำนึงว่าข้อมูลในมือของพวกคุณเป็นข้อมูลส่วนบุคคลเสมอซึ่ง PDPA ก็มีนโยบายเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูล ที่เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนดังนั้นการจะทำอะไร ต้องมีการผ่าน ‘ความยินยอม’ ของพนักงานหรือผู้สมัครก่อนเสมอ

เมื่อ พรบ PDPA เริ่มบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบนายจ้างและแผนก HR ต้องเริ่มศึกษาข้อกำหนดต่างๆเพื่อที่จะสามารถดำเนินงานขององค์กรให้สอดคล้องกับกฎหมาย PDPA เพราะ ข้อมูลของพนักงานนั้นถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรง ซึ่งผลกระทบต่อองค์กรที่ไม่ปฏิบัติตาม PDPA ก็คือ

หากไม่ทำตามอาจได้รับโทษดังนี้

-ทางแพ่ง ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และอาจต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้นอีก โดยสูงสุดไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง
-โทษทางอาญา จำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-โทษทางปกครอง ปรับสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท

PDPA สรุป เป็น กฎหมายที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคเพื่อป้องกัการนำข้อมูลไปใช้หรือเอาไปเปิดเผยโดยไม่ตรงตามข้อกฎหมายโดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอมเว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเท่านั้น

ติดต่อเรา